วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนปลุกเศรษฐกิจ 6 เดือดจอด

ห่วงวิกฤติโลกกระชากไทยลงกันเหว เสนอครม.อีดฉีด 6 สาขาสัปดาห์หน้า
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เงินลงทุนเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจในอีก 3 ปี วงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท จะนำไปใช้ใน 6 สาขาสำคัญคือ สาขาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, สาขาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งโลจิสติกส์ พลังงาน เทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร และสาธารณูปการ, อุตสาห กรรมการท่องเที่ยว, การลงทุนด้านการศึกษา, การลงทุนพัฒนาคุณภาพระบบบริการสาธารณสุข และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ หรือครีเอทีฟ อีโคโนมี่ ซึ่งสศช.กำลังพิจารณารายละเอียดในแต่ละโครง การเพื่อเสนอให้ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจเห็นชอบในวันที่ 25 มี.ค.นี้ ทั้งนี้ในแต่ละโครงการจะเน้นการสร้างงานและจ้างงานในประเทศ เชื่อมโยงให้เกิดการลงทุนจากนักธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ที่พร้อมอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทันที เพื่อให้ต่อเนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะการจ่ายเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทที่คาดว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้แค่ 6 เดือนเท่านั้น ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ภายในปลายปีนี้ นอกจากนี้จากตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนม.ค.และก.พ. ยังทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งออก การนำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบและเหล็ก ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน ยังถดถอยต่อเนื่องและต่ำกว่าเป้าหมายที่สศช. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง คาดการณ์ไว้ ขณะที่สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้เพราะไม่เชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจแม้รัฐบาลจะใช้กลไกการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 60,000 ล้านบาทแล้วก็ตาม แต่อัตราสินเชื่อ ยังไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิด การสร้างงาน จ้างงาน เพื่อพยุงเศรษฐกิจเพื่อรักษาเสถียรภาพการบริโภคในประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบสองขึ้นแน่นอน “รัฐบาลจำเป็นต้องใส่เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 500,000 ล้านบาท ใน อีก 3 ปีข้างหน้า และเป็นเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ในงบประมาณอยู่แล้วปีละ 6-7 แสนล้านบาท เพื่อทำให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวได้ปีละ 2-3% จากที่ติดลบในปัจจุบัน ส่วนแหล่งที่มาของเงินจะเป็นอย่างไรเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องดำเนินการ” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งพิจารณาเรื่องการออกพ.ร.ก.หรือพ.ร.บ. ปรับเพดานเงินกู้ให้ชัดเจน คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือนเม.ย.หรือช้ากว่า และให้ธปท. ไปจัดทำข้อมูลเรื่องการกำหนดเพดานเงินกู้ว่าอัตราที่สูงที่สุดควรจะอยู่ที่ใด ทั้งนี้ยืนยันว่ารัฐบาลเตือนมาตลอด ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ชะลอตัวต่อเนื่อง การที่จะหวังให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในแดนบวกคงต้องรอถึงไตรมาสสุดท้าย และดูเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นหลัก แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ประมาทและไม่ต้องการให้ประชาชนประมาทและไม่ต้องการให้ตกใจ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศยังพอขับเคลื่อนไปได้ นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า การส่งออกในเดือนก.พ.ที่ติดลบน้อยลง ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกทอง คำจำนวนมาก ขณะที่การนำเข้าที่ลดลง ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจในประเทศจะแย่ลง เพียงแต่ผู้ประกอบการเป็นห่วงเรื่องค่าเงินที่อ่อนตัวลงมาก จึงเร่งนำเข้าสินค้าในช่วงก่อนหน้าเป็นจำนวนมาก.

ไม่มีความคิดเห็น: